METHODOLOGY
Academic Excellence
สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ
THE NEWTON SIXTH FORM ดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรของ Pearson Edexcel มีทั้งระดับ Junior, IGCSE และ A-Level โดยเป็นหลักสูตรที่โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยหลาย ๆ แห่งใช้ และเป็นเกณฑ์สำคัญที่ต้องใช้ในการศึกษาต่อระดับสูง
THE NEWTON SIXTH FORM SCHOOL เป็น official centre ของหลักสูตร Pearson Edexcel ได้เลือกการเรียนการสอนสาขาวิชาที่เป็นพื้นฐานการศึกษาเพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านวิชาการโดยดำเนินการเรียนการ สอนด้วยครูผู้สอนที่เต็มไปด้วยคุณวุฒิและคุณภาพ (Qualification & Quality) คือมีทั้งสัมฤทธิผลในด้านการสอน และความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา สู่การดูแลนักเรียนด้วยความเข้าใจพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน เน้นสร้างการเปิด มุมมองให้นักเรียนเห็น Perspective สร้างแรงบันดาลใจ ความใฝ่เรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เลือกจุดหมายทางการศึกษา ข้ันสูงรวมถึงอาชีพในอนาคตด้วยตัวเองได้อย่างชัดเจน
3 กระบวนการ
สร้างนักเรียน
ให้เป็นผู้นำ
- MAX PLANNER
- READING
- SUPERVISION
การสร้างนักเรียนที่มีคุณลักษณะที่ดี เริ่มต้นที่การสร้างวัฒนธรรมของการวางแผนเพื่ออนาคต เริ่มต้นด้วยการปลูกฝังลักษณะการเรียนรู้ที่ดี ส่งเสริมให้นักเรียนกำหนดเป้าหมาย สร้างแผน และทำตามแผน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะหน้าที่ของผู้บริหาร
Max Planner
นิวตันได้ออกแบบจัดทำสมุดบันทึก Max Planner ให้นักเรียนทุกคนได้วางแผนและทำตามแผนของตน โดยใช้กระบวนการ PDCA (Plan – Do – Check/Achieve) นักเรียนที่อยู่ในระดับ Junior จะมี Supervisor ร่วมวางแผนและพูดคุยติดตามการทำตามแผนเป็นรายวัน ส่วนนักเรียนระดับ IGCSE และ A-Level จะทำแผนเป็นรายสัปดาห์ ตามหลักวิชาการที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ครูใหญ่นิวตัน ให้แนวทางปฏิบัติด้วยเหตุผลที่ว่า เด็กมี Time Horizon แตกต่างกันตามวัยของเขา หน้าที่ของครูและ supervisor คือกระตุ้นให้ลูกศิษย์วางแผน ทำตามแผน แล้วครูช่วยขัดเกลา ให้ลูกศิษย์ทบทวนการใช้เวลาของตนเอง และปรับปรุง Max Planner ให้รู้จักใช้เวลาอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ๆ เป็นวงรอบ PDCA ที่ลูกศิษย์จะได้เรียนรู้เข้าใจการพัฒนา EF และปรับปรุงอุปนิสัยของตนเองจากข้อมูลเชิงประจักษ์ตลอดเวลา
Reading
อุปนิสัยหนึ่งที่นิวตันให้ความสำคัญอย่างมาก คือ นิสัยรักการอ่าน ครูที่นิวตันเสริมสร้างโดยให้ลูกศิษย์ได้เลือกหนังสือด้วยตนเอง จากหนังสือที่จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดจำนวนหลายร้อยเล่มที่นิวตันคัดสรรมาไว้ในห้องสมุด ให้เด็กเลือกตามระดับความยากง่ายของภาษาอังกฤษ และตามความสนใจของนักเรียน ผ่านการดูแลและทำงานร่วมกันกับครูอย่างใกล้ชิดเพื่อชี้แนะปรับปรุงให้นักเรียนมีทักษะการอ่านที่ดียิ่งขึ้น สู่สร้างรากฐานการเรียนรู้ระดับสูงในอนาคต
Supervision
นิวตันสร้างวัฒนธรรมของการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและลูกศิษย์ หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ระบบ supervision ตามแบบอย่างที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดใช้ในการสร้างเสริมการเรียนรู้ระหว่างครูกับศิษย์ ที่นิวตันเมื่อนักเรียนเกิดปัญหา มีคำถาม หรือมีข้อสงสัย ทั้งด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาตนเอง หรือความสัมพันธ์กับเพื่อน นักเรียนจะสามารถคุยกับ Supervisor ที่ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด
Good Learning
Right Input
การเรียนแบบ Input คือ การเรียนจากการบรรยาย การอ่านหนังสือ การดูวิดีโอ เป็นต้น ซึ่งการเรียนแบบนี้อาจทำให้ลูกศิษย์เข้าใจเนื้อหาได้มากน้อยแตกต่างกัน แต่หากจะทำให้เกิดการซึมซับเรียนรู้ไปถึงแก่นแท้ของสาระได้ จะต้องอาศัยการจัดการเรียนการสอนในระดับที่ผู้สอนมีความรู้ระดับ First Principle ในศาสตร์นั้น ๆ เตรียมการสอนมาอย่างดี สามารถกระตุ้นให้ลูกศิษย์เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนถึงขั้นเกิดความรู้ความเข้าใจเชิงลึกได้
Right Output
นิวตันมุ่งเน้นให้ลูกศิษย์ได้ลงมือกระทำ หรือเรียนแบบ Output based ซึ่งนักเรียนจะได้รับผลลัพธ์และประสิทธิผลที่ดีขึ้นโดยการลงมือทำ การเรียนรู้จากผลลัพธ์จะทำให้นักเรียนเข้าใจและรู้จุดที่ต้องพัฒนาได้เร็วและถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้และรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของลูกศิษย์ได้
Right Feedback
นิวตันตระหนักว่าบทบาทหน้าที่ของครูนั้น ไม่เพียงแต่มีความสามารถในการสอน และการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่หน้าที่สำคัญคือ การขัดเกลา การให้ Feedback แก่ลูกศิษย์ ทั้งในด้านวิชาการและอุปนิสัย เพื่อให้ลูกศิษย์นำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ครูที่เก่ง ๆ คือผู้ประสบการณ์สูงและสามารถให้คำชี้แนะแก่ศิษย์ได้อย่างมีศิลปะ ช่วยให้ลูกศิษย์ฝึกฝนพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้องจะทำให้เกิด Perfect Input, Perfect Practice และทำให้เกิด Perfect Permanent ได้